วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
การปลูกต้นอ่อนทานตะวัน
วิธีเพาะเมล็ดงอกทานตะวัน
1. เตรียมวัสดุเพาะ ได้แก่ขุยมะพร้าวร่อน 4
ส่วน ขี้เถ้าแกลบร่อน 1 ส่วน
หรือจะใช้ขุยมะพร้าวร่อน กับดินร่อน 1 ต่อ 1 ก็ได้ นำมาผสมให้เข้ากัน
2. แช่เมล็ดทานตะวันในน้ำอุ่นทิ้งไว้ 1
คืน หรืออย่างน้อย 8 ชั่วโมง
3. นำวัสดุปลูกใส่ภาชนะ เช่นตะกร้าขนมจีน หรือตะกร้าที่มีตาถี่
หากไม่มีก็สามารถใช้ภาชนะปลูกอะไรก็ได้ แต่ขอให้มีรูระบายน้ำ
โดยแนะนำให้ใส่วัสดุเพาะประมาณ ¾ ส่วนของภาชนะ
แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
4. โรยเมล็ดทานตะวันที่แช่น้ำแล้ว
เกลี่ยให้ทั่วแล้วโรยขุยมะพร้าวที่เหลือกลบด้านหน้าเล็กน้อย รดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง
นำไปวางไว้ในที่ร่ม รดน้ำเช้า-เย็น อดใจรอประมาณ 4-5 วันก็สามารถตัดมากินได้
แต่เมล็ดทานตะวันจะงอกได้เพียงครั้งเดียว
ดังนั้นถ้าติดใจก็ต้องเตรียมเพาะกันใหม่อีกรอบนะคะ
ขอฝากไว้อีกอย่างหนึ่งก็คือ
ใครที่อยากจะลองกินเมล็ดทานตะวันเพาะงอก เวลาไปหาซื้อเมล็ดพันธุ์ก็ขอให้พิถีพิถันสักหน่อย
คือให้เลือกเมล็ดทานตะวันที่ไม่มีการเคลือบหรือคลุกยากันแมลงมา วิธีดูก็สังเกตสี
โดยปกติเมล็ดจะเป็นสีดำ แต่ถ้าคลุกยาเราก็มักจะเห็นเป็นสีออกขาวๆ
หากนำมาเพาะกินก็อาจเป็นอันตรายได้นะคะ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน
ส่วนเรื่องเมนูอาหาร
สุดเเท้เเต่ใครจะสร้างสรรค์เลยค่ะ ต้นอ่อนเมล็ดงอกเหล่านี้สามารถกินได้ทั้งเเบบสด
คือกินเเนมกับน้ำพริก กินกับน้ำสลัด หรือจะนำไปลวก ไปต้มจืด ไปผัก
ไปเเกงก็ได้ทั้งนั้นค่ะ
ทานตะวันงอก หรือต้นอ่อนทานตะวัน (Sunflower Sprout) จากการเพาะเมล็ดดอกทานตะวัน
เป็นผักทางเลือกใหม่ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงทีเดียว มีโปรตีนสูงกว่าถั่วชนิดอื่น ๆ
มีวิตามินหลายชนิดทั้ง วิตามินเอ วิตามินอี ที่สามารถช่วยบำรุงสายตา และผิวพรรณ
วิตามินบี 1 บี 6 บี 12 ที่ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อมด้วย
ทานตะวันงอกจะมีกลิ่นหอม กรอบ และมีรสชาติหวาน สามารถกินได้ทั้งแบบสด หรือจะนำไปปรุงอาหารเป็นเมนูอร่อย ๆ ได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ใส่ในสลัดหรือยำแซบ ๆ จะนำไปผัดเป็นเมนูทานตะวันงอกผัดน้ำมันหอย ทำอาหารประเภทต้มและแกง จับใส่ลงในแกงจืด แกงส้ม แกงเลียง หรือใส่ในก๋วยเตี๋ยวแทนถั่วงอกก็อร่อย หรือจะนำไปทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพก็ได้ด้วย
ทานตะวันงอกจะมีกลิ่นหอม กรอบ และมีรสชาติหวาน สามารถกินได้ทั้งแบบสด หรือจะนำไปปรุงอาหารเป็นเมนูอร่อย ๆ ได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ใส่ในสลัดหรือยำแซบ ๆ จะนำไปผัดเป็นเมนูทานตะวันงอกผัดน้ำมันหอย ทำอาหารประเภทต้มและแกง จับใส่ลงในแกงจืด แกงส้ม แกงเลียง หรือใส่ในก๋วยเตี๋ยวแทนถั่วงอกก็อร่อย หรือจะนำไปทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพก็ได้ด้วย
กศน.ตำบลหลวงหนือ
ประวัติความเป็นมาของกศน.ตำบลหลวงเหนือ
กศน.ตำบลหลวงเหนือเดิมใช้ชื่อ ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลหลวงเหนือ
ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่กลุ่มเป้าหมายในเขตตำบลหลวงเหนือ
พ.ศ.2549 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง
(เดิมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำปาง
สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน) มีนโยบายให้ขยายการให้บริการสู่ชุมชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันตาม
พรบ.การศึกษาชาติ กำหนดให้ กศน.มี ศูนย์การเรียนประจำตำบลทุกตำบล
กศน.ตำบลหลวงเหนือ
จึงเริ่มก่อตั้งโดยได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารของ อส. ให้จัดตั้งเป็น
ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลหลวงเหนือ,หลวงใต้ (ยังดำเนินกิจกรรมรวม 2 ตำบล)
โดยได้รับอนุญาตจากนายอำเภองาวให้ใช้อาคารกองร้อยอาสาสมัครเก่ารมรวม รียนชุมชนตำบลหลวงเหนือ,หลวงใต้อาคารของ
อส.งเรียน จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการจัดตั้งเป็นกศน.ตำบลหลวงเหนือ
มีนางสาวธนิตา ชายป่า เป็นครู ศรช.
ประจำกศน.ตำบลหลวงเหนือ
ประวัติความเป็นมาตำบลหลวงเหนือ
เดิมทีเดียว ตำบลหลวงเหนือเป็นที่ตั้งตั้งตัวเมืองเงิน หรือเมืองงาว
ในราวปีพ.ศ. ๒๕๗๒
เมื่อเขลางค์นครหรือนครลำปาง
มีเจ้าผู้ครองนครแล้ว
เมืองงาวที่เคยขึ้นต่อพะเยา
ได้รวมกันขึ้นตรงต่อนครลำปาง
และเจ้าผู้ครองนครลำปาง
ได้ใช้เมืองงาวนี้เป็นเมืองหน้าด่าน
หรือด่านหน้า ป้องกันข้าศึกสมัยนั้น(ส่วนมากเป็นพวกเงี้ยว,ฮ่อและพม่า
ที่ขยายอำนาจและอิทธิพลมายึดครองหัวเมืองต่างๆทางภาคเหนือ ส่วนหนึ่งที่เรียกว่าแคว้นลานนาไทย) นครลำปางเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นลานนาไทย
แต่ทว่าได้กู้อิสรภาพจากพม่ามีเจ้าปกครองเอง และอาศัยบารมีเจ้าทางใต้คอยคุ้มกัน
สมัยรัตนโกสินทร์
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) เปลี่ยนระบบการปกครองแบบเจ้าผู้ครองนคร ระยะแรก
ยังไม่สามารถส่งข้าราชการมาปกครองต่งพระเนตรพระกรรณได้นั้น ก็ให้ผู้ครองนคร ช่วยตั้งบุคคลที่ไว้ใจและมีคนนับหน้าถือตา เป็นพ่อเมืองพรางๆก่อน
คำว่า “หลวง” หมายถึง “ใหญ่,มากมาย,กว้างขวาง”
เพื่อสะดวกในการปกครองดูแลความทุกข์สุขราษฎร จึงแบ่งทั้งบ้านและคนที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำงาวเป็นตำบลหลวงใต้ ซึ่งมีประชากรและบ้านเรือนน้อยกว่า ส่วนทางฝั่งขวาแม่น้ำงาวเป็นตำบลหลวงเหนือ เพราะมีคนมากกว่าและอยู่ทางทิศเหนือ ด้วยเหตุที่มีประชาชนและบ้านเรือนตั้งอยู่ในฝั่งขวามากกว่า ฝั่งขวาเป็นที่ตั้งของคุ้มหลวง คือที่อยู่ของพ่อเมืองครั้งสุดท้าย ผู้คนจึงอพยพตามมาจากบ้านห่าง(บริเวณวัดนาค,วัดนิโครต
เดิม) มาอยู่ฝั่งขวาใกล้กับพ่อเมือง
ซึ่งมีฐานะดุจนายอำเภอในปัจจุบัน
สมัยมีนายอำเภองาวคนที่๖ คือ
ขุนประเทศอุตรทิศ(รศ.๑๓๐ ถึง พ.ศ.
๒๔๕๖)ผู้ที่เป็นกำนันคนแรกของตำบลหลวงเหนือ
ชื่อนายยศ คนต่อมาชื่อนายคำ ต่อมาสมัยนายอำเภอขุนประสานสุขประชา(พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๖๔ ) มีกำนันคนใหม่มียศเป็นขุน ขุนเหนือนรการ ซึ่งสมัยนี้มีการปกครองระบบเทศาภิบาลแล้ว
ตำบลหลวงเหนือมีสภาพท้องที่เจริญกว่าตำบลอื่นๆ เพราะเป็นตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภองาว มีย่านชุมชน
ย่านการค้าขาย(ตลาด)และสมัยต่อทาเป็นเขตสุขาภิบาลดอนไชย(ปัจจุบัน คือ
เทศบาลตำบลหลวงเหนือ)
ปัจจุบัน ตำบลหลวงเหนือ
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลหลวงเหนือ
เป็นจุดศูนย์กลางที่ตั้งของหน่วยงานสำคัญๆ เช่น
สถานีตำรวจภูธรงาว
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข
ธนาคารออมสิน
โรงพยาบาลประจำอำเภอ
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ธนาคารทหารไทยเป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)