วัดจองคำ
วัดจองคำ พระอารามหลวง
ตั้งอยู่บนทางหลวงลำปาง-งาว (ทางหลวงหมายเลข 1 หรือพหลโยธิน)
หากเดินทางมาจากจังหวัดตากหรือกรุงเทพฯ วัดจองคำจะอยู่ซ้ายมือ
ด้วยซุ้มประตูสีทองสลักลวดลายสวยงาม กำแพงหินเป็นแนวยาวกว่า 200 เมตร จึงทำให้วัดจองคำเป็นที่สะดุดตาของผู้ที่สัญจรไปมาอย่างพวกเราหลายๆ
ครั้งในการจัดทริปเที่ยวทางเหนือจะผ่านวัดจองคำทำให้นึกในใจว่าหากมีโอกาสเวลาเอื้ออำนวยคงจะได้เข้าไปนมัสการพระและเก็บข้อมูลมาสักครั้ง
*วัดจองคำ ศิลปะแบบไทยใหญ่ที่สวยงามตั้งอยู่ตำบลบ้านหวด บนถนนสายลำปาง-งาว ห่างจากตัวอำเภองาว 10 กิโลเมตร วัดจองคำเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง สถาปัตยกรรมก่อสร้างโดดเด่นเป็นสง่า เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทยใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไปไว้ ณ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ
วิหารไม้หลังที่เห็นปัจจุบันเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง วัดจองคำได้รับคัดเลือกให้เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ในจังหวัดลำปาง และเป็นโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปาง
แต่ละปีนักเรียนปริยัติธรรมสามารถสอบ เปรียญธรรมบาลีได้หลายประโยคจนถึง ป.ธ.9 ได้รับพระราชทานอุปสมบทเป็นนาคหลวงจำนวนมาก เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามว่า พระราชปริยัติโยดม
*วัดจองคำ ศิลปะแบบไทยใหญ่ที่สวยงามตั้งอยู่ตำบลบ้านหวด บนถนนสายลำปาง-งาว ห่างจากตัวอำเภองาว 10 กิโลเมตร วัดจองคำเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง สถาปัตยกรรมก่อสร้างโดดเด่นเป็นสง่า เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทยใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไปไว้ ณ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ
วิหารไม้หลังที่เห็นปัจจุบันเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง วัดจองคำได้รับคัดเลือกให้เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ในจังหวัดลำปาง และเป็นโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปาง
แต่ละปีนักเรียนปริยัติธรรมสามารถสอบ เปรียญธรรมบาลีได้หลายประโยคจนถึง ป.ธ.9 ได้รับพระราชทานอุปสมบทเป็นนาคหลวงจำนวนมาก เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามว่า พระราชปริยัติโยดม
จากคำบอกเล่าของพระภิกษุผู้ดูแลวิหารหลังนี้ท่านเล่าว่าเจ้าอาวาสวัดจองคำเป็นพระภิกษุชาวพม่า บนวิหารจึงได้มีพระพุทธรูปศิลปะแบบพม่าซึ่งแกะสลักจากไม้ต้นเดียวทั้งองค์ด้วยลวดลายปราณีตงดงาม อยู่เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงศรัทธาที่เปี่ยมล้นในพระพุทธศาสนาของผู้แกะสลักองค์พระนี้
ในวัดจองคำนอกจากจะมีวิหาร ซึ่งใช้เป็นทั้งศาลา วิหาร และกุฏิสงฆ์ แล้วยังมีเจดีย์และอุโบสถที่สร้างไว้ที่มุมด้านซ้ายของวัดที่แปลกกว่าวัดอื่นๆ ที่จะสร้างอุโบสถไว้ตรงกลาง
ซุ้มประตูและแนวกำแพงวัดจองคำลำปาง เป็นจุดเด่นของวัดที่สะดุดนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านไปมาบนถนนพหลโยธิน
หรือทางหลวงหมายเลข 1 (เส้นทางสู่เชียงใหม่) ที่หลายๆ
คนโดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพก็อาจจะต้องชะลอรถลังเลอยู่หลายครั้งว่าจะเข้าหรือไม่เข้าดี
ด้วยความสวยงามของซุ้มประตูสีทอง 2 ซุ้ม กับกำแพงวัดที่ยาวมากทำให้มีเวลาคิดอยู่นานกว่ารถจะวิ่งผ่านไป
พอดีทริปพะเยาของเราพอมีเวลาเหลืออยู่ในระหว่างการเดินทางกลับกรุงเทพฯ
เราจึงตัดสินใจแวะเข้าไป
ซุ้มประตูวัดจองคำลำปาง ภายในวัดมีทางแคบๆ
พอให้รถวิ่งได้ระหว่างพระวิหารชัยภูมิกับบริเวณข้างอุโบสถ เมื่อเข้ามาเราก็ตรงไปยังพระวิหารซึ่งมีซุ้มประตูอยู่ตรงกับพระวิหารพอดี
พระวิหารชัยภูมิวัดจองคำลำปาง สถาปัตยกรรมก่อสร้างโดดเด่นเป็นสง่า
เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด
ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทยใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไปไว้ ณ เมืองโบราณ
จังหวัดสมุทรปราการ
วิหารไม้หลังที่เห็นปัจจุบันเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549
สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60
ปี ได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง
วัดจองคำได้รับคัดเลือกให้เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ในจังหวัดลำปาง
และเป็นโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปาง
ทางขึ้นพระวิหารชัยภูมิ พระวิหารหลังนี้มีลักษณะกว้างหลังคาหลายชั้น
มีทางขึ้น-ลงทางเดียวคือบันไดด้านหน้า
พอดีได้พบกับพระภิกษุผู้ดูและพระวิหารท่านเลยเปิดให้เข้าชมและสักการะนมัสการพระพุทธรูปบนพระวิหารได้
บันไดพระวิหารชัยภูมิ ด้วยลักษณะของอาคารไม้สีดำทั้งหลังมองภายนอกดูเข้มขลัง
ภายในใต้หลังคากลับประดับตกแต่งด้วยสีแดงและสีทองแต่ถ้าหากไม่มาดูภายในมองแต่เพียงจากด้านนอกก็จะไม่รู้เลย
บานหน้าต่างประตูสลักลายเดียวกัน บนพระวิหารชัยภูมิมีหน้าต่างประตูหลายบานลวดลายการแกะสลักสวยงามเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด
ภายในพระวิหารชัยภูมิวัดจองคำลำปาง เมื่อเปิดประตูเข้าไปความรู้สึกก็จะเปลี่ยนไปเพราะคาดไม่ถึงว่าอาคารไม้สีดำทะมึนจากภายนอกเมื่อเข้ามาแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและการประดับลวดลายสีทองที่สวยงามแม้ว่าจะปิดหน้าต่างเกือบทุกบานแต่กลับรู้สึกโล่งอย่างบอกไม่ถูก
พระแก้วมรกตจำลอง ในพระวิหารแห่งนี้เป็นสถานที่เก็บรักษาพระพุทธรูปหลายองค์
มีทั้งศิลปะแบบไทยและศิลปะพม่า
พระพุทธรูปแกะสลักจากไม้ต้นเดียวกันทั้งองค์ททั้งปางประทับยืนที่ดูเหมือนจะแกะสลักได้ง่าย
และปางประทับนั่งซึ่งต้องเซาะเนื้อไม้ออกเป็นจำนวนมาก
เจ้าอาวาสพระภิกษุชาวพม่า เป็นเจ้าอาวาสรูปหนึ่งเมื่อครั้งครองวัดอยู่มีพุทธศาสนิกชนชาวพม่านำพระพุทธรูปแกะสลักจากไม้ทั้งต้นมาถวายจำนวนมากที่เห็นอยู่ในพระวิหารหลังนี้
ด้านล่างรูปท่านมีตู้เก็บพัดยศของท่านรักษาไว้เป็นอย่างดี
พระพุทธรูปแกะสลักจากไม้ต้นเดียว พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับนั่ง
แกะจากไม้ต้นเดียวและคงเป็นองค์ที่แกะสลักได้ยากที่สุด ลวดลายปราณีตสวยงาม
แต่เนื่องจากประดิษฐานไว้มุมหนึ่งของวิหารด้านในสุดแสงสว่างลอดเข้าจากประตูทางเข้ามีน้อยมาก
และองค์พระมีสีเข้มจึงถ่ายภาพลวดลายมาได้ไม่ชัดเจนเท่าไหร่
อุโบสถวัดจองคำ มีจุดเด่นที่หน้าจั่วและหน้าบรรณ
ที่แกะสลักจากไม้ด้วยรูปพญานาคลดระดับมีเทพพนมแต่ศิลปะแบบพม่า อยู่ตำแหน่งรอบๆ
อุโบสถเหมือนกับเสมาของวัดศิลปะแบบไทย ความแปลกของอุโบสถหลังนี้ยังอยู่ที่ตำแหน่งของ อุโบสถซึ่งอยู่มุมด้านหน้าซ้ายสุดของวัดด้านข้างของอุโบสถชิดกำแพงข้างวัดเทพพนมศิลปะพม่า จุดเด่นที่พระพักตร์หรือใบหน้ายิ้มแย้มอ่อนโยน
ดูใกล้ๆ รู้สึกว่าเป็นใบหน้าที่เปี่ยมด้วยเมตตาสูง
พระเจดีย์วัดจองคำ อยู่ด้านหน้าอุโบสถ
เป็นท้ายสุดของการพาชมวัดจองคำพระอารามหลวงบนทางหลวงหมายเลข 1 ที่มีคนผ่านไปผ่านมาเป็นจำนวนมากแต่ไม่ค่อยได้มีโอกาสแวะเข้ามา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น