วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

วัดพระธาตุลำปางหลวง

  




วัดพระธาตุลำปางหลวง

ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน หรือ บ้านลำปางหลวงในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด(ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
   ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๕ นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น หนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน
พระธาตุลำปางหลวง ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นเจดีย์กลมทรงระฆังคว่ำ(แต่ในหนังสือพระเจดีย์ในล้านนา โดย สถาบันวิจัยสังคม ม.เชียงใหม่ กลับเรียกว่า เจดีย์แบบพุกามล้านนา เนื่องจากมีการปิดทองจังโกคล้ายแบบพุกามนั่นเอง) ปิดทองจังโกทั่วทั้งองค์เจดีย์ รูปทรงหนักแน่น ไม่ชลูดเหมือนเจดีย์แห่งอื่นๆ รอบๆพระธาตุมีการล้อมรอบด้วยรั้วเหล็ก โคมรั้ว มีการสร้างซุ้มประตูโขงอยู่ทางทิศใต้ของพระธาตุ บริเวณรั้วเหล็กมีเรื่องเล่าถึง รอยกระสุนปืน ที่หนานทิพย์ช้างยิงปืนสังหาร ท้าวมหายศ เมื่อช่วงพุทธศตวรรษที่ 23
       ปรากฏในตำนานพระธาตุลำปางหลวงที่กล่าวถึง การเสด็จมาถึงของพระพุทธเจ้า ที่บ้านลัมภะการีวัน(บ้านลำปางหลวง) เมื่อเสด็จอยู่ดอยม่อนน้อย ขณะนั้นมีชายผู้หนึ่ง นาม"ลัวะอ้ายกอน" เห็นพระพุทธเจ้า เกิดมีความเลื่อมใสได้นำเอาน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้าง(ไม้ช้าวหลามไม้เปราะ) มะพร้าวและมะตูมอย่างละ 4 ลูกน้อมถวายพระองค์ และพระองค์ก็มอบพระเกษาและได้มีพุทธพยากรณ์ต่อไปว่า ในอนาคต จะมีพระอรหันต์นำเอาอัฐิพระนลาต(หน้าผาก)ข้างขวา และอัฐิลำคอข้างหน้าหลังมาบรรจุไว้ในนี้

 ” เหตุการณ์สร้างวีระบุรุษ คำกล่าวที่มักใช้กันอยู่บ่อยๆในปัจจุบัน แต่ในอดีตนั้นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็ได้ สร้างวีระบุรุษมากมายมาแล้วเช่นกัน

       ” เจ้าทิพย์ช้าง เจ้าผู้ครองเขลางค์นคร หรือนครลำปาง อดีตนั้นเป็นเพียงแค่พรานป่าหรือพรานหนุ่ม ผู้ถูกร้องขอจากขุนนางเมืองในสมัยนั้น ให้ช่วยกอบกู้เมืองลำปางที่ตกอยู่ในการครอบครองของพม่า และพรานป่าผู้กล้านี้ก็ได้ทำสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2275 โดยปลอมตัวเข้าไปในเขตชั้นในที่พม่าใช้วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นที่ตั้งมั่น แล้วลอบฆ่าแม่ทัพพม่าจนเสียชีวิต ซึ่งรอยกระสุนจากการสู้รบ และร่องรอยการหลบหนี ยังปรากฏอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงมาจนถึงทุกวันนี้ 

       นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เหตุการณ์ได้สร้างวีระบุรุษในยุคอาณาจักรล้านนา ซึ่งเป็นยุคสุดท้ายก่อนที่จะรวมกับไทยภาคกลางหรือ กรุงศรีอยุธยา ให้เป็นอาณาจักรไทยผืนแผ่นเดียวกัน 

       ปัจจุบัน หากใครมีโอกาสไปเที่ยววัดพระธาตุลำปางหลวง ก็คงมองหารอยกระสุนที่ว่านี้ได้ไม่ยากนัก เพราะอยู่บริเวณหน้า พระธาตุเจดีย์ ตรงรั้วทองเหลือง ซึ่งมีป้ายบอกไว้ชัดเจน รูกระสุน 2 รู เบ่อเร่อ คงทำให้คนรุ่นปัจจุบันอดไม่ได้ที่จะคิดถึง อาวุธสงครามในสมัยนั้น ในยุค ที่ยังใช้ดาบ ใช้หอก เป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้ข้าศึกศัตรู

       กระสุนอะไรทำไมรุนแรงถึงขนาดทะลุเหล็กทองเหลืองของรั้ว ทั้งๆที่เมื่อสมัยสองร้อยกว่าปีก่อนยังเป็นยุคใช้ปืนแก๊ป
ต้องอัดดินปืน ต้องอัดหัวกระสุนเหล็ก กว่าจะยิงแต่ละนัดก็ใช้เวลานาน แต่ปืนแก๊ปสมัยนั้นก็มีอานุภาพ ยิงทะลุรั้วทองเหลืองได้ เป็นสิ่งที่ผู้คนยุคนี้อดทึ่งไม่ได้ ใครไปเที่ยววัดพระธาตุลำปางหลวงก็ไม่ควรพลาดชมในจุดนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น