วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กศน.ตำบลหลวงหนือ

ประวัติความเป็นมาของกศน.ตำบลหลวงเหนือ
          กศน.ตำบลหลวงเหนือเดิมใช้ชื่อ  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลหลวงเหนือ  ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่กลุ่มเป้าหมายในเขตตำบลหลวงเหนือ
          พ.ศ.2549  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง (เดิมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำปาง  สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน) มีนโยบายให้ขยายการให้บริการสู่ชุมชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันตาม พรบ.การศึกษาชาติ กำหนดให้ กศน.มี ศูนย์การเรียนประจำตำบลทุกตำบล
          กศน.ตำบลหลวงเหนือ จึงเริ่มก่อตั้งโดยได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารของ อส. ให้จัดตั้งเป็น ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลหลวงเหนือ,หลวงใต้ (ยังดำเนินกิจกรรมรวม 2 ตำบล)  โดยได้รับอนุญาตจากนายอำเภองาวให้ใช้อาคารกองร้อยอาสาสมัครเก่ารมรวม รียนชุมชนตำบลหลวงเหนือ,หลวงใต้อาคารของ อส.งเรียน จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการจัดตั้งเป็นกศน.ตำบลหลวงเหนือ มีนางสาวธนิตา  ชายป่า เป็นครู ศรช. ประจำกศน.ตำบลหลวงเหนือ

ประวัติความเป็นมาตำบลหลวงเหนือ
          เดิมทีเดียว  ตำบลหลวงเหนือเป็นที่ตั้งตั้งตัวเมืองเงิน  หรือเมืองงาว  ในราวปีพ.ศ. ๒๕๗๒  เมื่อเขลางค์นครหรือนครลำปาง  มีเจ้าผู้ครองนครแล้ว  เมืองงาวที่เคยขึ้นต่อพะเยา  ได้รวมกันขึ้นตรงต่อนครลำปาง  และเจ้าผู้ครองนครลำปาง  ได้ใช้เมืองงาวนี้เป็นเมืองหน้าด่าน  หรือด่านหน้า  ป้องกันข้าศึกสมัยนั้น(ส่วนมากเป็นพวกเงี้ยว,ฮ่อและพม่า  ที่ขยายอำนาจและอิทธิพลมายึดครองหัวเมืองต่างๆทางภาคเหนือ  ส่วนหนึ่งที่เรียกว่าแคว้นลานนาไทย)  นครลำปางเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นลานนาไทย  แต่ทว่าได้กู้อิสรภาพจากพม่ามีเจ้าปกครองเอง  และอาศัยบารมีเจ้าทางใต้คอยคุ้มกัน
          สมัยรัตนโกสินทร์  ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕)  เปลี่ยนระบบการปกครองแบบเจ้าผู้ครองนคร  ระยะแรก  ยังไม่สามารถส่งข้าราชการมาปกครองต่งพระเนตรพระกรรณได้นั้น  ก็ให้ผู้ครองนคร  ช่วยตั้งบุคคลที่ไว้ใจและมีคนนับหน้าถือตา  เป็นพ่อเมืองพรางๆก่อน
          คำว่าหลวง  หมายถึง ใหญ่,มากมาย,กว้างขวาง  เพื่อสะดวกในการปกครองดูแลความทุกข์สุขราษฎร  จึงแบ่งทั้งบ้านและคนที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำงาวเป็นตำบลหลวงใต้  ซึ่งมีประชากรและบ้านเรือนน้อยกว่า  ส่วนทางฝั่งขวาแม่น้ำงาวเป็นตำบลหลวงเหนือ  เพราะมีคนมากกว่าและอยู่ทางทิศเหนือ  ด้วยเหตุที่มีประชาชนและบ้านเรือนตั้งอยู่ในฝั่งขวามากกว่า  ฝั่งขวาเป็นที่ตั้งของคุ้มหลวง  คือที่อยู่ของพ่อเมืองครั้งสุดท้าย   ผู้คนจึงอพยพตามมาจากบ้านห่าง(บริเวณวัดนาค,วัดนิโครต เดิม) มาอยู่ฝั่งขวาใกล้กับพ่อเมือง  ซึ่งมีฐานะดุจนายอำเภอในปัจจุบัน
          สมัยมีนายอำเภองาวคนที่๖  คือ  ขุนประเทศอุตรทิศ(รศ.๑๓๐  ถึง พ.ศ. ๒๔๕๖)ผู้ที่เป็นกำนันคนแรกของตำบลหลวงเหนือ  ชื่อนายยศ  คนต่อมาชื่อนายคำ  ต่อมาสมัยนายอำเภอขุนประสานสุขประชา(พ.ศ. ๒๔๕๗ ๒๔๖๔ ) มีกำนันคนใหม่มียศเป็นขุน  ขุนเหนือนรการ  ซึ่งสมัยนี้มีการปกครองระบบเทศาภิบาลแล้ว  ตำบลหลวงเหนือมีสภาพท้องที่เจริญกว่าตำบลอื่นๆ  เพราะเป็นตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภองาว  มีย่านชุมชน  ย่านการค้าขาย(ตลาด)และสมัยต่อทาเป็นเขตสุขาภิบาลดอนไชย(ปัจจุบัน คือ เทศบาลตำบลหลวงเหนือ)

          ปัจจุบัน  ตำบลหลวงเหนือ  ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลหลวงเหนือ  เป็นจุดศูนย์กลางที่ตั้งของหน่วยงานสำคัญๆ  เช่น  สถานีตำรวจภูธรงาว  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข  ธนาคารออมสิน  โรงพยาบาลประจำอำเภอ    โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ธนาคารทหารไทยเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น